วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระโพธิสัตว์วัชรสัตโต

>__ผ็.บ๖.ซ,.ซ.ม.ยแ ม.นู.ปI.ล.ยแ บ๖.ซ,.ต่.น้.ป.ตjx".]f.ม่.&.ฦแ ซู.ต้.f.ม่.&.ฦแ ซู.ป้.f.ม่.&.ฦแ ผ.นู.รf.ม่.&.ฦแ ซใ.ซิ.๐j.i.ฤ.ย.ฌแ ซใ.กn.ซู.ฃ.ม่แ
ฃิ
Tี.A;j.ยีแ กู.รู.๔แ ฮ.ฮ.ฮ.ฮ.ฮ้.แ &.ค.ฦานแ
ซใ.ต.ถ
9.ค.ต.บ๖.ม9.
ม่.มู
.บ๖j.&.ฦ.ม.ฮา.ซ.ม.ย.ซ,.I
โอม.เบนจา.สัต.โต.ซา.มา.ยา.มา.นู.ปา.ลา.ยา*เบนจา.สัต.โต.เต.โน.ปา.ตี.ธา.ดี.โด.เม.บา.วา* ซุ.โต.คา.โย.เม.บา.วา.*ซุ.โป.คา.โย.เม.บา.วา. อา.นู.รัต.โต.เม.บา.วา.*ซาวา.สิท.ธิ.เมม.ปาร.ยา.จา.*ซาวา.กา.มา.ซุ.จา.เม.*จิต.ตำ.ชรี.ยำ.กู.รู.โฮุม. ฮา.ฮา.ฮา.ฮา.โฮ.*บา.กา.วาน.*ซาวา.ตะ.ถา.คะ.ตา.เบญจา.มา.เม.มุณ.จา.เบนจือ.บา.วา.มา.หา.ซา. มา.ยา.สัต.โต.อา.**
ธิเบตเรียก 5df.Ji.ซ่มซ.ป. ร๋โด.ร๋เจ.เซมซ์.ปา. จีนเรียก กิมกังสักตอ
วัชรสัตโตท่านเป็นสัญลักษณ์แห่งโพธิจิตทั้งปวงแห่งจักรวาลเป็นโพธิจิตอันมั่นคงแข็งแกร่งประดุจวัชระ  สรรพสัตว์เมื่อได้รับการอภิเษกจากท่านโพธิจิตก็บังเกิด ในมหายานนิกายเปิดองค์ท่านก็คือพระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ ซึ่งถือว่าท่านเป็นบุตรคนโตของพุทธเจ้าทั้งปวง ท่านเป็นสัมโภคกายของอาทิพุทธ

องค์วัชรสัตโตองค์ท่านใสบริสุทธิ์ดังเช่นหินผลึก ใสปรุโปร่งดุจดังสายรุ้ง มีหนึ่งเศียรสองแขน สวมอาภรณ์สัมโภคกายประดับจินดามณี มือขวาถือวัชระอยู่บริเวณหัวใจ ซึ่งวัชระนี้ก็คือปัญญาแห่งพุทธเจ้าห้าพระองค์ มือซ้ายถือกระดิ่ง ซึ่งก็คือปรัชญาปารามิตาหรือศูนยตาสภาวะ ท่านนั่งบนดอกบัวสีขาวในท่าวัชรอาสน์ ท่านเป็นสัญลักษณ์แห่งวัชรธรรมของพุทธเจ้าทั้งปวง วัชระในมือขวาของท่านขจัดอุปสรรคสิบประการ กระดิ่งในมือซ้ายดุจดังเสียงแห่งศูยนตาธรรมปลุกสรรสสัตว์ให้ตื่นจากสภาวะแห่งอวิชชา
ภาพวัชรสัตโตนี้เป็นปางที่เรียกว่า ปางยับยัม ยับ ยัมเป็นคำสุภาพของทิเบตที่ใช้เรียกพ่อและแม่ ปรัชญยับยัมของวัชรยานถ่ายทอดมาจากอินเดียตั้งแต่สมัยพุทธกาล อย่าเพียงแต่มองภาพด้วยตาอย่างเดียว ให้ใช้จิตมองให้เห็นถึงปรัชญาโบราณ ปางนี้อยู่คุ่พุทธศาสนามาแต่ต้น และเป็นปางของพุทธที่มีมาก่อนมิใช่ของฮินดูแต่ฮินดูนำของพุทธไปและตีความไปตามปรัชญาอินดู สัญลักษณ์อันสมบูรณ์ของศูนยตา มิใช่ สัญลักษณ์แห่งความถาวรของปรมัตมัน
บทปฏิบัติขององค์วัชรสัตโต สำคัญมากในการปฏิบัติพุทธตันตระยาน ด้วยว่าเป็นบทปฏิบัติหนึ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนการปฏิบัติใดๆในทุกนิกาย
ผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมของผู้ปฏิบัติ มีผู้เดียวเท่านั้นที่รู้ คือพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์สามารถพยากรณ์ให้สรรพสัตว์ว่าจะบรรลุผลสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ แต่ในกาลปัจจุบันไม่มีพระพุทธเจ้ามาพยากรณ์ให้ เราจึงไม่รู้ว่า เราจะต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ในการบรรลุผลสำเร็จ นั่นคือไม่มีใครรู้ว่า ตนมีอุปสรรคอีกเท่าไหร่ จึงจะหมด  ดังนั้นวิธีการขจัดอุปสรรค จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติเกิดผลสำเร็จ
ผู้ศึกษาปฏิบัติธรรม เมื่อตั้งปณิธานในการปฏิบัติ เริ่มด้วยการขอสรณะ บำเพ็ญวิธีขจัดอุปสรรค ตามมาด้วยการบำเพ็ญภาวนา แต่จะได้ผลเท่าไรอยู่ที่มีกรรมมากหรือน้อย ซึ่งเกิดจากกรรมทั้งเก่าและใหม่ กรรมทั้งมวลเกิดจากจิต เมื่อจิตไม่บริสุทธิ์โพธิจิตก็บังเกิดขึ้นไม่ได้ การขอขมากรรม(บำเพ็ญวิธีขจัดอุปสรรค) เป็นหนทางย้อนสู่จุดเริ่มต้นเพื่อประกอบและไม่ประกอบกรรม อันเป็นต้นเหตุแห่งจิตบริสุทธิ์ ในพุทธศาสนาทุกนิกายมีวิธีการขอขมากรรมแตกต่างกันมากมาย ซึ่งการขอขมากรรมในบทปฏิบัติขององค์วัชรสัตโตนั้นถือว่าเป็นการขอขมากรรมขั้นสูงสุดเพื่อเข้าสู่พุทธภูมิ การปฏิบัติด้วยความศัทธา สำนึกผิดและปณิธานไม่ผิดอีก อุปสรรคหมด บารมีเต็ม เข้าสู่ภาวะศูนยตา พุทธภาวะเกิด เป็นพระพุทธเจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น