วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยิดัม ฮายากีวะ


t.มฎิน.Sคซ.รล.จน.ร๋ตา.ม์(ค์ดิน.ล๋จะค์ซ์.รัล.เจน. จีนเรียกเบ๊ท้าวเม่งอ๊วง
          ในพุทธศาสนาวัชรยานได้แบ่งกายแห่งธรรมออกเป็นสามกาย คือกายดั้งเดิมก็คือพุทธะ กายแห่งธรรมะคือโพธิสัตว์ กายแห่งพลังคือยิดัมพิชิตมาร  ปางแห่งปัญญาดั้งเดิมก็คือปางพุทธเจ้า ปางแห่งการโปรดสัตว์ก็มาในลักษณะอ่อนโยนปางพระโพธิสัตว์ ถ้ามาโปรดสัตว์ก้าวร้าว ดุร้าย ก็จะมาในปางพิชิตมาร ดังนั้นยิดัมพิชิตมารก็คือองค์พุทธเจ้าที่มาโปรดสัตว์ดุร้ายแข้งกร้าวโปรดยากนั่นเอง ถ้ามองในสภาพภายนอกก็จะเห็นว่าท่านดุร้ายน่ากลัว แต่สภาพที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นจากจิตที่เมตตาของพระพุทธเจ้า ที่ต้องการโปรดสัตว์ดุร้าย ท่านเป็นสัญลักษณ์แสงแห่งปัญญที่มาขจัดอุปสรรคความชั่วร้ายซึ่งใช้ภาพมารเป็นสัญลักษณ์
          องค์ฮายากีวะอยู่ในตระกูลปัทมหรือก็คือปางอวตารของพระอมิตาภพุทธเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งก็คืออวตารกายของพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร มีหลายพุทธลักษณ์ เช่น สามเศียรหกกร สามเศียรสี่กร หนึ่งหน้าสองแขน วรกายสีแดง หรือสีน้ำเงินเข้มก็มี ในภาพทังกานี้มีเศียรเดียวสองแขน ดวงตากลมโตสามตา มีเขี้ยวโง้ว เส้นผมสีส้มพุ่งตรงขึ้น บนเศียรมีหัวม้าสีเขียวอยู่ มือขวาถือไม้เท้ากระโหลก  มือซ้ายถือเชือกขอ สวมมงกุฎกระโหลกห้าหัว สวมสร้อยกระโหลกห้าสิบหัว สวมอาภรณ์หนังมนุษย์ หนังช้าง  นุ่งหนังเสือ  ประดับงู ขาด้านขวางอ ด้านซ้ายเหยียดตรง เหยียบมารชายหญิง ยืนบนแท่นบัววงพระอาทิตย์ ล้อมรอบด้วยเปลวเพลิงแห่งปัญญาอันโชติช่วงเผาผลาญอวิชชาทั้งมวล บนเศียรจะมีหัวม้าหนึ่งหัวหรือสามหัวก็ได้ ด้วยความหมายว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมท่านมีความกล้าหาญที่จะไปกินอกุศลกรรมทั้งมวลและอวิชชาของสรรพสัตว์
          พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์เมื่อย่างเข้ามาในวัฏฏสงสารประดุจดังม้าที่หิวกระหาย จึงไม่รั้งรอ รีบเร่งกินน้ำกินหญ้า โดยไม่สนใจสิ่งอื่น น้ำและหญ้าเปรียบดังอวิชชาและอกุศลกรรมของสรรพสัตว์ ท่านมีชื่อเรียกอีกชื่อว่ายิดัมผู้กล้ากิน
          อานิสงส์ในการปฏิบัติตันตระองค์ฮายากีวะ คือปลอดจากมารทั้งหลาย ได้รับการกำจัดอกุศลกรรมและอวิชชา หายโรคร้าย คุณไสยไม่สามารถกล้ำกลาย พิธีกรรมในการปรุงยารักษาโรคติดเชื้อในธิเบตจะอัญเชิญองค์ฮายากีวะมาเป็นประธานในการปรุงยา พลังพุทธคุณในพิธีกรรมจะมีพลังอันแข็งแกร่งมากเมื่อมีองค์ท่านเข้าร่วมในพิธีกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น