เหวัชระยิดัมองค์สำคัญในการปฏิบัติพุทธตันตระ พระองค์มีรูปกายสีน้ำเงินเข้ม
มุมมองในผู้ศึกษาพุทธธรรมได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าอนัตตาและอารมณ์ฝ่ายดีเป็นอริยะชนผู้มีคุณความดี เป็นผู้มีธรรมะผู้สัมพันธ์ด้วยจึงเป็นอริยะชนด้วย แต่ในด้านตรงข้าม อัตตาและอารมณ์ฝ่ายร้ายเป็นความชั่วร้ายเป็นทุรชนที่จะต้องทำลายทิ้งหรือเก็บกดคุมขัง เพื่อมิให้ผู้ที่สัมพันธ์ด้วยกลายเป็นผู้ชั่วร้าย ความขัดแย้ง การต่อสู้ จึงบังเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เจตนารมณ์ในพุทธรรมมุ่งเน้นในสันติวิธีมากกว่าการต่อสู้และความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นภายในตัวผู้ศึกษาธรรม ยิ่งไม่ควรบังเกิดขึ้น ด้วยว่าการต่อสู้กันนั้นในที่สุดตัวเราโดยองค์รวมจะเป็นผู้ถูกทำลายเอง ในมุมมองของพุทธตันตระ จึงมุ่งสู่ศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้อยู่เองโดดๆเป็นสภาวะที่สัมพันธ์ แอบอิงกัน เป็นสภาวะแห่งการมองอัตตา อนัตตา อารมณ์ดี อารมณ์ร้ายตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ที่ต้องสัมพันธ์กัน เปิดโล่ง โปร่งใส เมื่อดวงตาแห่งธรรมเปิด มองเห็นศูนยตาสภาวะ พุทธภาวะก็บังเกิด ผู้เปิดดวงตาแห่งธรรมก็คือองค์ยิดัม แท้จริงแล้วองค์ยิดัมก็คือ รากฐานแห่งพลัง อัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง ดังนั้นเมื่อพลังแห่งอัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งมวล สัมพันธ์กันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา พุทธภาวะก็บังเกิด ยิดัมก็คือวัชรธรรมกาย หรือพุทธภาวะนั่นเอง
มุมมองในผู้ศึกษาพุทธธรรมได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าอนัตตาและอารมณ์ฝ่ายดีเป็นอริยะชนผู้มีคุณความดี เป็นผู้มีธรรมะผู้สัมพันธ์ด้วยจึงเป็นอริยะชนด้วย แต่ในด้านตรงข้าม อัตตาและอารมณ์ฝ่ายร้ายเป็นความชั่วร้ายเป็นทุรชนที่จะต้องทำลายทิ้งหรือเก็บกดคุมขัง เพื่อมิให้ผู้ที่สัมพันธ์ด้วยกลายเป็นผู้ชั่วร้าย ความขัดแย้ง การต่อสู้ จึงบังเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่เจตนารมณ์ในพุทธรรมมุ่งเน้นในสันติวิธีมากกว่าการต่อสู้และความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นภายในตัวผู้ศึกษาธรรม ยิ่งไม่ควรบังเกิดขึ้น ด้วยว่าการต่อสู้กันนั้นในที่สุดตัวเราโดยองค์รวมจะเป็นผู้ถูกทำลายเอง ในมุมมองของพุทธตันตระ จึงมุ่งสู่ศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้อยู่เองโดดๆเป็นสภาวะที่สัมพันธ์ แอบอิงกัน เป็นสภาวะแห่งการมองอัตตา อนัตตา อารมณ์ดี อารมณ์ร้ายตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ที่ต้องสัมพันธ์กัน เปิดโล่ง โปร่งใส เมื่อดวงตาแห่งธรรมเปิด มองเห็นศูนยตาสภาวะ พุทธภาวะก็บังเกิด ผู้เปิดดวงตาแห่งธรรมก็คือองค์ยิดัม แท้จริงแล้วองค์ยิดัมก็คือ รากฐานแห่งพลัง อัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง ดังนั้นเมื่อพลังแห่งอัตตา อนัตตา อารมณ์ทั้งมวล สัมพันธ์กันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา พุทธภาวะก็บังเกิด ยิดัมก็คือวัชรธรรมกาย หรือพุทธภาวะนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น