วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยิดัม ยามานตกะ

จักรสัมวารา ธิเบตเรียก  บด่.มช้ค.ฮ่.รู.ก. บ์เด.ม์โชค.เฮ.รู.กา./ จีนเรียก เซ่งลักกิมกัง จักรสัมวาราเป็นยิดัมองค์สำคัญ ปฏิบัติกันในนิกายณยิงมายุดใหม่หรือที่เรียกว่าซามา และนิกายคากิว โดยเฉพราะหลักปฏิบัติของคากิวต้องปฏิบัติให้ได้ในองค์จักรสัมวารา จึงจะปฏิบัติมหามุทราได้ องค์จักรสัมวาราเป็นหลักในการปฏิบัตอนุตระโยคะตันตระหมวดตันตระแม่
          องค์จักรสัมวารามีทั้งปาง สองหน้าสี่แขนและสี่หน้าสิบสองแขนในปางยับยัม ศักติชื่อวัชรวาราฮี(โดเจภักโม)ปางยับยัมเป็นสัญลักษณ์ซึ่งแสดงถึงปัญญาและพลัง ปัญญาในรูปสตรีคือความว่างดั้งเดิม พลังในรูปบุรุษคือความกระจ่างใส ในแง่ยินหยาง ปัญญาคือยิน พลังคือหยาง หรือปัญญาคือสัมปชัญญะ พลังคือสติ ดังนั้นการรวมกันของปัญญาดั้งเดิมกับพลังหรือมรรควิธีให้ผลคือการบรรลุพระโพธิญาน จักรสัมวาราท่านเป็นยิดัมขององค์พระอักโษภยพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในตระกูลวัชระ ในภาพทังกาด้านบนตรงกลางจะเป็นองค์พระอักโษภยพุทธเจ้ามุมทั้งสี่จะเป็นฑากินีวัชรโยคินี ตรงกลางล่างเป็นองค์มหากาลาสี่แขน องค์จักรสัมวาราในภาพองค์ท่านสีน้ำเงิน มีสามตาบนเศียรของท่านยอดบนสุดเป็นธรรมจักรซึ่งทำจากกระดูกประดับด้วยจินดามณี พระจันทร์เสี้ยว นุ่งห่มหนังเสือ องค์วัชรวาราฮีวรกายสีแดงมีสามตา ไม่สวมอาภรณ์ บนเศียรมีหัวหมูประดับอยู่ผมห้อยลงทั้งสององค์สวมมงกุฎกระโหลกห้าหัว สวมสร้อยคอกระโหลกห้าสิบหัว ขาซ้ายเหยียดตรงเหยียบบนอัตตา ขาขวางอเล็กน้อย มงกุฎกระโหลกห้าหัวเปรียบดังปัญญาทั้งห้า พระจันทร์เสี้ยวสัญลักษณ์แห่งความสุขอันนิรันดร์ หัวหมูบนเศียรวัชรวาราฮี เปรียบดังปัญญาซึ่งขจัดความหลง ดวงตาทั้งสามคือปัญญามองทะลุกาลทั้งสาม  มีเขี้ยวสัญลักษณ์แห่งการแสดงธรรมด้วยความลื่นไหลปราศจากข้อควรกังขา หนังเสือเปรียบเสมือนการไม่หวาดกลัวในการหลุดพ้น มือถือกระดิ่งและวัชระ เปรียบดังปัญญาและพลัง สร้อยกระโหลกขององค์จักรสัมวาราเป็นกระโหลเปียกเปรียบดังการบรรลุสัมโภคกาย สร้อยกระโหลกขององค์วัชรวาราฮีเป็นกระโหลกแห้งเปรียบดัง
ธรรมกายดั้งเดิม ขาขวาเหยียดด้วยความหมายว่าบรรลุสู่ความไม่เกิดไม่ดับ ขาซ้ายงอด้วยความหมายว่าถึงบรรลุก็ไม่เข้านิพพานเพื่ออยู่ช่วยสรรพสัตว์ เหยียบบนมารผู้ขัดขวางการบรรลุ แท่นบัวเปรียบดังปัญญา เมตตาและความหลุดพ้น
อานิสงฆ์ในการปฏิบัติจักรสัมวาราคือความหลุดพ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น