วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธรรมะคือ ธรรมชาติ

ธรรมมะ คือ ธรรมชาติ
ธรรมมะ ไม่มีแบ่งแยก เป็นธรรมะเดียวกันทั่วโลก คือ ธรรมชาติอันเดียวกัน
มนุษย์เรา เมื่อค้นพบและรู้ความจริงในธรรมชาติ ก็นำมาบอกต่อผู้อื่น (สอน) และบัญญัติสร้างรูปแบบ กฎเกณฑ์ วิธีการสิ่งต่างๆ ในการกระทำ ทำให้ธรรมมะเกิดแบ่งแยก กันขึ้น เป็นคำสอนธรรมมะของศาสดาต่างๆ ขึ้นมา
ซึ่งที่แท้จริงคือธรรมมะอันเดียวกัน คือธรรมชาติ ที่มุ่งให้ทุกคนมีชีวิตอยู่ อย่างมีความสุข (นิพพาน) ซึ่งก็คือสั่งสอนให้ทุกคน รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริงของมัน แล้วใช้ชีวิตในธรรมชาติอย่างรู้เท่าทัน  แล้วชีวิตก็จะมีความสุข
ซึ่งการมาแบ่งแยกด้วยวิถี(แนวทาง)และวิธีการต่างๆ ก่อให้เกิดอัตตาตัวตน ยึดมั่นใน(ศาสนา)คำสอนของแต่ละศาสดา ใครที่เห็นต่างไปจากนี้ ก็ถือว่าผิด จริงๆแล้ว ไม่มี คำว่าผิด หรือคำว่าถูก เพียงแต่วิถีทาง และวิธีการ ที่แตกต่างกัน แต่ก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือมุ่งสู่ความสุข(นิพพาน) ความเจริญ
ดังนั้น จึงมีวลีที่ว่า ไม่เนื่องด้วยวิถี ไม่เนื่องด้วยวิธีการ นิพพานอยู่แล้ว การยึดติดอัตตาตัวตน ในอัตตลักษณ์ ก่อให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคี ก็จะทำให้เกิดความไม่สงบสุขเป็นที่ไปแห่งความทุกข์ทั้งมวล
ดังนั้น ธรรมมะ ทั่วโลก เป็นธรรมะอันเดียวกัน คือเป็นธรรมชาติอันเดียวกัน ธรรมะไม่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่มีแบ่งแยก จึงไม่มีคำว่า ศาสนานั้น ศาสนานี้ ทุกคนอยู่กับธรรมะ อันเดียวกัน คือธรรมชาติ แต่มนุษย์มาแบ่งแยก ติดยึด สร้างอัตตลักษณ์ ตัวตนขึ้นมา ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ กลายเป็นความหลง (คือไม่เห็นตามความเป็นจริง) จนธรรมะถูกแบ่งแยก เป็นธรรมมะ “ตัวกูของกู”
จากนั้นมนุษย์ก็มากำหนดวิธีการ รับธรรม ศึกษาเล่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม  กำหนดการประเมินผล คือการบรรลุธรรม และก็มากำหนด ผลที่เกิดในที่สุดคือ “นิพพาน” (ความสุข) กันขึ้นมามากมายแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย
จิตเดิมแท้ของมนุษย์ ขาวใสบริสุทธิ์ ไร้ธุลี แต่เมื่อเกิดมาแล้วเจอเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้ จิตเดิมแท้ที่บริสุทธิ์นั้นหลงติด ยึดมั่น ไม่เห็นตามความเป็นจริง หลงลืมสัจจะสัญญา(สัญญาความจริง) ที่ให้ไว้กับเบื้องบนก่อนที่จะดับและลงมาเกิด ว่าตนเองต้องการดับแล้วลงมาเกิดในภพภูมิมนุษย์ เพื่อสร้างความดี เพิ่มฐานบารมี ฐานบุญ ให้สูงขึ้นมากขึ้น   เพราะการสร้างบุญบารมี บุญกุศล (ความดี) จะสร้างได้เฉพาะในภพภูมิที่เป็นมนุษย์เท่านั้น  ไม่เว้นแม้แต่พุทธองค์
เมื่อรับสัจจะแล้วลงมาเกิดในภพมนุษย์ แล้ว มนุษย์ทุกคน มีบารมี มีบุญ สมบูรณ์เต็มเท่ากันทุกคน ไม่มีใครมากหรือน้อยกว่าใคร ต่อมาจิตบริสุทธิ์เดิมแท้ที่ขาวใสบริสุทธิ์ ก็ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้หลงลืมสัจจะ(ความจริงที่ให้ไว้กับเบื้องบน) ไม่ยอมรับความจริง ไม่ยอมปฏิบัติตามสัจจะ (หลงสัจจะ) นำบารมีที่ติดตัวลงมานั้นไปเหลื่อมล้ำตนเอง เลื่อมล้ำผู้อื่น เหลื่อมล้ำธรรมชาติ เลื่อมล้ำภพภูมิอื่น ให้ได้รับความเดือนร้อน (สร้างกรรมไม่ดี) บารมีก็ลดน้อยถอยลง ตามเหตุปัจจัย จนบารมีหมด ก็ยังเหลือบุญอยู่ ก็อยู่ใช้บุญไปเรื่อยๆ โดยไม่ยอมปฏิบัติตามสัจจะ (คือการสร้างความดี) ต่อไปเมื่อบุญหมด ก็เหลือแต่คำว่านรก (บาป) เป็นที่ไป
แต่หากมนุษย์เรารู้จัก ยอมรับและปฏิบัติตามสัจจะ(ความจริง) ที่ให้ไว้ก่อนมาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วไม่หลง (เห็นตามความเป็นจริง และนำไปปฏิบัติ สร้างคุณงามความดี ฐานบุญและบารมีที่มีอยู่เดิมก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้น สูงขึ้น ตามเหตุปัจจัย คือนิพพานในที่สุด
เมื่อลงมาเกิดในโลกมนุษย์ ก็มีอยู่สองประการ คือ คำว่า ดี กับคำว่า ชั่ว  มนุษย์เราที่ลงมาเกิดนั้น จิตเดิมแท้บริสุทธิ์ อยู่แล้ว มีความรู้เดิมอยู่แล้ว ไม่ต้องให้ใครมาบอกกล่าวหรือสอน มนุษย์เราก็รู้อยู่แล้วว่า
ดี ก็คือดี ไม่มีแบ่งว่า ดีมาก ดีน้อย หรือดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ รู้อยู่แล้วโดยตัวเอง ว่า ดีก็คือดี  มนุษย์เราจะดีก็ดีด้วยตัวเอง ไม่มีใครมาทำให้เราดีได้
เลว ก็คือ เลว ไม่แบ่งว่า เลวมาก เลวน้อย แต่เลวมีสองแบบ ต่างจากดี คือ  เจตนาเลว กับไม่เจตนาเลว รู้อยู่แล้วโดยตัวเอง  มนุษย์เราจะเลวก็เลวด้วยตัวเอง ไม่มีใครมาทำให้เราเลวได้
มนุษย์จะดีหรือเลว ก็รู้ด้วยตัวมนุษย์เราเอง  หากเลวแต่มีสติ ก็ถือว่าดี ที่นับว่าดีเพราะอย่างน้อยก็ยังรู้ว่าตนเองทำอะไร ดีหรือไม่ดี แต่ก็ต้องมีสติรู้ว่าเจตนาดี เท่านั้น หรือหาก ทำดีแต่ขาดสติ ก็นับว่าเลว เพราะไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไร ดีหรือไม่ดี แต่ที่ทำไปเป็นเพราะความบังเอิญมันดี เท่านั้น ก็ถือว่าเลว
ดังนั้นดี หรือชั่ว มนุษย์ทุกคนก็รู้จัก ส่วนการจะปฏิบัติอย่างไรถึงจะดี ก็รู้ด้วยตนเองง่ายๆ ว่า ถ้าอยากเพิ่มฐานบุญฐานบารมีให้ดีขึ้นสูงขึ้น ก็จงทำแต่ความดี “คืออย่าทำผิดศีลธรรม” อะไรที่ไม่ดี ผิดศีลธรรม  ก็อย่าไปทำ ไม่ต้องว่าทำอย่างนั้นได้อย่างนี้ ทำอย่างนี้ได้อย่างนั้น ทำอะไรได้อะไร วุ่นวาย “ไม่เนื่องด้วยวิถี ไม่เนื่องด้วยวิธีการ” ดังนั้น มนุษย์ทุกคนที่รู้และเข้าใจนำไปปฏิบัติ ตามสัจจะที่ให้ไว้ เรียกว่า รู้สัจจะในธรรม (คือรู้ความจริงตามความเป็นจริงในธรรมชาติ) ก็คือบรรลุธรรมแล้ว
นั่นคือ มนุษย์ผู้รู้สัจจะ ยอมรับสัจจะ ปฏิบัติตามสัจจะ ที่ให้ไว้ นับเป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว ขั้น “อริยชน” และหากมนุษย์ผู้นั้นเป็นนักบวช เราก็นับได้ว่า บรรลุธรรมแล้ว ขั้น “อริยสงฆ์”
ดังนั้น ไม่มีการรับธรรม ไม่มีการเรียนรู้ศึกษาธรรม ไม่ต้องนั่งปฏิบัติธรรม มนุษย์เรามีธรรมในตัวเองอยู่แล้ว ปฏิบัติอยู่แล้ว เพราะมนุษย์ที่ไม่หลงทุกท่าน บรรลุธรรมอยู่แล้วโดยจิตเดิมแท้ที่บริสุทธิ์ ขาวใส ไร้ธุลี ไม่เนื่องด้วยวิถี ไม่เนื่องด้วยวิธีการ ก็มีนิพพานอยู่แล้ว(ความสุข) เป็นที่ไป  แต่หากหลงขาดสติ(ความระลึกได้) ขาดสัมปชัญญะ (ความละลึกรู้) ก็มีที่ไปคือบาป (นรกบนดิน นรกในบั้นปลายและมีโลกันตะมหานรกอเวจี เป็นที่ไปในที่สุด
สรุป ไร้รูป ไร้ลักษณ์ ไร้นาม  ว่างเปล่า ขาวใส ไร้ธุลี มีนิพพานเป็นที่ไปแน่นอน สาธุ สาธุ  สาธุ
                 ขอความสุขความเจริญในธรรม จงมีแด่ทุกๆ ท่าน ทุกๆ ประการ เทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น