วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระโพธิสัตว์มัญชูศรี


ธิเบตเรียก 5อฅม.ดปล.อฐงซ.5 อ์จัม.ด์บาล.อ์(บ์จังซ์.  จีนเรียก บุนซูซือลีผู่สักพระองค์ทรงเป็นปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง ในยุดของพระศากยมุนีพุทธเจ้านี้ มัญชูศรีโพธิสัตว์ทรงเป็นพระพุทธปัญญา ในขณะที่ พระอวโลกิเตศวร ทรงเป็นพระพุทธเมตตา และพระวัชรปาณิทรงเป็นพระพุทธพละ
         ภาพพระมัญชูศรีโพธิสัตว์มีหลายลักษณะ ในภาพเป็นปางที่แพร่หลายที่สุด มีหนึ่งเศียรสองกร มือขวาถือกระบี่แห่งปัญญา (กระบี่แห่งปัญญาอันคมกริบตัดขาดอวิชชาทั้งมวล)มือซ้ายอยู่ในท่ามุทราหมุนธรรมจักรถือสายบัวดอกบัวขึ้นไปทางไหล่ซ้าย บนดอกบัวมีพระสูตรปรัชญาปารามิตาสูตร( "พระสูตรหัวใจแห่งปัญญานำพาข้ามฟากฝั่ง"เสริมสร้างปัญญาอันสมบูรณ์พร้อมเพื่อเข้าสู่โลกุตระ) นั่งในท่าวัชรอาสน์ บางลักษณะก็นั่งในท่าครึ่งวัชระห้อยเท้าซ้ายลงมา หรือบ้างก็นั่งมาบนหลังสิงโต(สิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งเจ้าป่าไม่มีความกลัวในอุปสรรคทั้งปวง)บทปฏิบัติในองค์มัญชูศรีโพธิสัตว์ มีหลายบทเปลี่ยนไปตามวรรณะแห่งองค์ท่าน เช่นสีขาว สีดำ สีแดง ในแต่ละบทของการปฏิบัติก็ไม่เหมือนกัน พุทธเกษตรของท่านอยู่ที่ภูเขาอูไท่ มีความเชื่อกันว่ากษัตริย์  และปรมาจารย์ ในธิเบตและจีนที่ทรงความสามารถและธรรมคือองค์อวตารของท่าน  ดังเช่น ลองเชนปะ โจงคาปา และสังฆราชแห่งนิกายสักยะทุกองค์
          ความหมายในคาถาหัวใจ
โอม การของสรณะเพื่อเข้าสู่การปฏิบัติธรรม
อา การเข้าสู่ศูนยตาสภาวะไม่เกิดไม่ดับ
รา ความบริสุทธิ์ไปแปดเปื้อนด้วยเหตุแห่งวัฏฏ
ปา ความเท่าเทียมกัน(สรรพสัตว์เท่าเทียมกันในการบรรลุ)
จา ในศูนยตาสภาวะไม่จำเป็นต้องมีธรรมและการปฏิบัติ
นา ในศูนยตาสภาวะปราศจากรูปแบบใดๆ
ดี อักขระประจำองค์
การเข้าใจความหมายในคาถาหัวใจขององค์พระมัญชูศรีโพธิสัตว์ขึ้น อยู่กับความรู้ลึกซึ้งในปรัชญาปารามิตาสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น