วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระโพธิสัตว์วัชรปาณิ


ธิเบตเรียก 5ฉค.น.df.Ji.5 (ภ์ฉัค.นา.ร๋โด.ร๋เจ จีนเรียกกิมกังชิ้วผ่อสัก วัชรปาณิโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์แห่งพลังอำนาจ เป็นสัญลักษณ์ของพลังความโกรธเกรี้ยวและความและความสุขสงบ ในพุทธศาสนาวัชรยาน องค์วัชรปาณิทรงศักดิ์สูงมาก ท่านเป็นผู้รักษากฎของพระพุทธไวโรจนพุทธมีเรื่องเล่าว่า พระนาครชุนได้เข้าสู่เจดีย์เหล็กของวัชรปาณิโพธิสัตว์ในเมืองนาครนครได้นำคัมภีร์ของวัชรปาณิโพธิสัตว์(หนึ่งในคัมภีร์นั้นคือ มหาปรัชญาปารามิตา)และได้รับปัญญาทั้งมวลขององค์วัชรปาณิโพธิสัตว์มาด้วย วัชรปาณิโพธิสัตว์อยู่ในตระกูลวัชระ ซึ่งท่านก็คือองค์อวตารปางปราบมารของพระโพธิสัตว์มหาสถามปราบโพธิสัตว์(ไต้ซี่จี่ผู่สัก) โดยพื้นฐานการปฏิบัติวัชรยานแล้วต้องปฏิบัติในบทของท่านก่อน ด้วยว่าท่านสามารถช่วยเหลือผู้ปฏิบัติในการขจัดอุปสรรคหรือมารผู้ขัดขวาง ก่อกวนให้สิ้นไป
วัชรปาณิโพธิสัตว์มีหลายปางเช่น หนึ่งหน้าสองแขน หนึ่งหน้าสี่แขน สามหน้าสี่แขน สามหน้าหกแขน หรือในปางยับยัม ในภาพเป็นปางหนึ่งหน้าสองแขนสามตา วรกายสีน้ำเงินเข้ม สวมมงกุฎกระโหลกห้าหัว ผมชี้ชึ้นสีแดง คิ้วดังเปลวเพลิง มีเขี้ยวทั้งบนและล่าง ลิ้นม้วน ดวงตากลมโต ท่าทางดุร้าย เป็นการแสดงบารมีเพื่อข่มโลกทั้งสาม มือขวาถือวัชรอยู่ในท่าที่ทรงพลังที่สุดในท่าสยบมาร มือซ้ายถือเชือกขอ ประดับกายด้วยกระดูกและงู นุ่งหนังเสือและผ้าตวนสีฟ้า ขาขวางอ ขาซ้ายเหยียด ยืนอยู่บนแท่นบัวพระอาทิตย์ ล้อมรอบด้วยเปลวเพลิงแห่งปัญญา ท่านทรงพลังแห่งการปกป้องพุทธธรรมมีพลังสูงสุด ในธิเบตภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง ในช่วงที่เกิดภัยแล้งชาวธิเบตจะทำพิธีบูชาท่านเพื่อขอฝน มีตำนานเล่าว่าท่านมีหน้าที่ในการปกป้องภัยแก่นาคให้น้ำ ด้วยว่ามีนกสีทองคอยก่อกวนการทำหน้าที่ให้น้ำของนาค เมื่อนาคถูกก่อกวนก็จะหนีไปทำให้เกิดความแห้งแล้ง ในบางครั้งท่านก็ได้แปรงร่างเป็นนกสีทองเข้าโจมตีนกสีทองตัวจริงให้หนีไป(ในภาพบางภาพจะมีรูปนก อยู่ด้วย)ดังนั้นวัชรปาณิโพธิสัตว์จึงเป็นผู้ที่ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล คำว่าปาณิในภาษาสันสฤตแปลว่าน้ำ วัชรปาณิโพธิสัตว์ท่านอยู่ทางทิศเหนือ เป็นหัวหน้าผู้ควบคุมเทพธรรมบาลทั้งปวง เทพสมบัติทุกองค์ อสูร ยักษ์ เจ้ามังกร หน้าที่หลักของท่านก็คือช่วยเหลือพระอมิตาภะพุทธเจ้านำพาสรรพสัตว์เข้าสู่พุทธภูมิ
อานิสงฆ์ในการปฏิบัติธรรมในองค์วัชรปาณิโพธิสัตว์ เกิดบุญบารมีสุดประมาณ ได้รับการปกป้องภัยพิบัติซึ่งเกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ สมปารถนาในสิ่งที่ต้องการ
ภาพวัชรปาณิโพธิสัตว์ส่วนใหญ่จะมีภาพโพธิสัตว์อีกสององค์อยู่ด้วยคือมัญชูศรีโพธิสัตว์ซึ่งก็คือพระปัญญาของพุทธเจ้า ภาพพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ซึ่งก็คือพระเมตตาของพระพุทธเจ้าและวัชรปาณิโพธิสัตว์ซึ่งก็คือพลังอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งปวง

1 ความคิดเห็น:

  1. ส่วนตัวชอบอ่าน แนวนี้ อยู่แล้วครับ
    ขอบคุณ เนื้อ หา ดีๆ ครับ

    ตอบลบ